ข้ามไปยังเนื้อหา

“โนราห์” – ความเห็นหลังชม

ถ้าใครคิดว่าการมาของสิ่งนั้นท้ายเรื่องของ “นาคี 2” พีคแล้ว ขอให้ไปดูฉากมิดเครดิตของ​ “โนราห์” บอกเลยว่าพีคยิ่งกว่า ทำผมขาทรุดแบบแบบทรุดจริงๆ ไม่ใช่คำเปรียบเทียบ พิงกับพนักเก้าอี้แล้วร้องโอ้มายก๊อดๆๆๆๆๆ แบบแทบเสียสติ (อันหลังนี้เป็นคำเปรียบ) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็จะคิดว่าจะทำให้ผู้ชมเสียงแตกต่อฉากนี้เช่นกันระหว่างมองว่า “เซอร์ไพรส์ดี” กับ “ช่างทำไปได้”

ที่จริง หนังพอดูได้ขำๆ เพราะมีฉากวิวทะเลที่ถ่ายด้วยกล้องมุมสูงและน่าจะเป็นโดรนได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ และมีมุกตลกที่ชวนให้ขำอยู่บ้าง (ยกเว้นบางมุกตลกที่ออกจะไร้รสนิยมด้วยการทำให้ผู้ทุพพลภาพมาเป็นตัวตลก) และการขายพวกฉากนาฏศิลป์ต่างๆ ก็เพลินตาดี นอกจากนี้ ผมสัมผัสได้ถึงเคล้าลางของแนวคิดกับต้นเรื่องที่น่าสนใจ และเจตนารมย์ที่ดีในการนำเสนอศิลปะนาฏศิลป์พื้นบ้าน แต่หนังเต็มไปด้วยความเชย ความไม่สมเหตุผล ความย้อนแย้ง และที่พีคที่สุดก็ฉากมิดเครดิตนั่นแหละ

หนึ่งในความเชยที่อยากยกเป็นตัวอย่างก็คือ เมื่อตัวละครผิดหวังความรัก วิ่งออกไปริมทะเล ล้มตัวลง เข่ากระแทกพื้นน้ำแตกกระจาย ร้องไห้ตีอกชกหัวคร่ำครวญ จากนั้นก็ปล่อยเพลงอกหักออกมาดังๆ ประกอบแบบเอ็มวียุค 80 เคยคิดว่าฉากแบบนี้จะหมดไปจากหนังไทยแล้ว แต่เรายังได้เห็นในหนังเรื่องนี้อยู่

หรือเวลาที่ตัวละครเศร้าเสียใจก็พยายามพูดด้วยเสียงสั่นๆ เครือๆ ซึ่งควรหมดไปได้แล้วจากทั้งสื่อภาพยนตร์และละครทีวีเช่นกัน เพราะมนุษย์ปุถุชนโดยธรรมชาติไม่มีใครพูดเสียงสั่นๆ เครือๆ เวลาเสียใจ มันเป็นวิธีการแสดงแบบที่เราเห็นบ่อยๆ ในลิเกหรือละครหน้าชั้นเรียน

ส่วนความไม่สมเหตุผลนั้น แม้เรื่องราวการย้อนเวลาแบบบุเพสันนิวาสกับทวิภพจะเหนือจริงก็ตาม มันก็ยังมีกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขบางอย่างของการย้อนเวลาให้เราเชื่อได้ แต่โนราห์เป็นกณฑ์เกณฑ์แบบเอาตามใจท่านมากๆ เหมือนที่ตัวละครพูดว่า “นี่ฉันจมน้ำที่พัทลุงแล้วมาโผล่ที่เกาะสีชังเลยเหรอ unbelievable!”

หนังยังใช้ชาวต่างชาติที่เป็นคนขาวมาเป็นตัวทำลาย “เอกลักษณ์” ทางนาฏศิลป์หรือพยายามลบวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษ์ของภาคใต้ออกไป แต่หนังก็ใช้ฝรั่งคนขาวมาเป็นผู้กอบกู้การร้องรําทําเพลงที่ลํ้าลึกลีลาของภาคใต้ของไทยในตอนจบ บางมุมอาจมองได้ว่าเพราะ “คนไทยไม่เห็นค่า กลัวน้อยหน้า ว่าคุณค่านิยมไม่ทันสมัย” จึงต้องมี “ฝรั่งที่แอบชอบใจ” มาเป็นผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์แทน เป็นการตบหน้าคนไทยที่ไม่เห็นค่านี้ แต่บางมุมก็อดคิดไม่ได้ว่ามันช่างย้อนแย้งสิ้นดีที่หนังซึ่งเหมือนมีเจตนารมย์หนึ่งในการส่งเสริมให้อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านเลือกวิธีการแบบ “white saver” มาใช้กับทางออกของปมนี้ในหนัง

 

 

1 ความเห็น »

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.