ข้ามไปยังเนื้อหา

แผนภูมิเส้นเวลาเหตุการณ์ของ Interstellar

interstellar headerหนังอย่าง Interstellar อาจต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพ, รูหนอน, หลุมดำ, ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีเบื้องต้นบ้างเล็กน้อย ในการทำความเข้าใจเรื่องราว ยอมรับว่าผมเองก็ไม่เข้าใจศัพท์เทคนิคทั้งหมด โดยเฉพาะเกี่ยวกับการ slingshot และเกี่ยวกับหลุมดำ แต่ก็พอตามเรื่องทันบ้าง ผู้ชมที่ปลื้มหนังหลายคนที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ดี ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งใครที่ยังตามไม่ทันอยู่ อาจลองเข้ากระทู้รวมทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่อง Interstellar และ สรุปตัวละคร ส่วนประกอบ ศัพท์ และเนื้อเรื่อง Interstellar ในพันทิปห้องเฉลิมไทยดูครับ

ส่วนอีกเรื่องที่อาจซับซ้อนน้อยกว่าเรื่องศัพท์เทคนิคต่างๆ ก็คือเส้นเวลาเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละครของคูเปอร์ (แมทธิว แม็คคอนนาเฮย์) ในหนังเรื่องนี้ ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายพวกการเดินทางข้ามเวลาหรือย้อนเวลาใน Terminator และ Looper ครับ มีผู้ชมหนังที่เก่งด้านออกแบบชื่อ Dogan Can Gundogdu ได้ทำแผนภูมิหรืออินโฟรกราฟฟิกอธิบายออกมา ถ้าใครสับสนเรื่องเส้นเวลาในหนัง แผนภูมินี้อาจช่วยได้ครับ ชมภาพด้านใน

ที่มา: Slashfilm

interstellar timeline infographic correct

1 ความเห็น »

  1. ผมว่าเลข 67ปี น่าจะอยู่ผิดตำแหน่งเนาะ ช่วง 67 ปีน่าจะเป็นช่วงที่อยู่ใน(และอยู่ใกล้) Gargantua อย่างเดียวมากกว่า เพราะช่วงเวลาอยู่ใน Dr.Mann ตัดสลับฉากมายังโลก Merph พึ่งมีอายุอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่เอง ไม่ใช่วัยชรา

    ปล.ที่บวก(อยู่ใกล้)ด้วย เพราะพออกมานอก Gargantua ทั้ง Cooper และ Amelia ยังไม่แก่ แสดงว่า Amelia ก็ได้รับอิทธิพลจากแรงดึงดูดมหาศาลด้วยเพราะอยู่ใกล้(จนเกือบตกลงไปใน) Gargantua

    • คิดว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ ดาวแมนน์คิดว่าคงไม่มีการผกผันของเวลา หรือถ้ามีก็คงจะมีน้อย

      ตอนที่คูเปอร์ไปดาวแมนน์จะเห็นได้ว่าเขาไม่แข่งกับเวลาเหมือนกันตอนไปที่ดาวมิลเลอร์

      และตอนที่คูเปอร์และแบรนด์เข้าไปตรหตุการณ์เพื่ออาศัยแรงเหวี่ยง ตอนนั้นก็พูดขึ้นมาว่า “ช่วงเวลาเล็ก ๆ นี้เทียบเท่าได้กับ 50 กว่าปี” แล้วแบรนด์ก็พูดว่า “งั้นคุนก็อายุ 120 ปีกแล้ว”

      รวมถึงก่อนที่จะตัดสินใจใช้แรงเหวียงจากการ์แกนทัวแบรนด์ก็เตือนคูเปอร์ถึงผลกระทบจากเวลาผกผัน แต่คูเปอร์ก็ตอบกลับไปว่า “เวลานี้ใครจะไปสนกัน” (ก็อาจเพราะสภาพยานที่ไม่อาจพาคูเปอร์ไปยังโลกได้อีกแล้ว และถ้าไม่ใช่แรงเหวี่ยงนี้ก็ไม่อาจไปให้ถึงดาวเอ็ดก์มันส์เช่นกัน)

      อีกเรื่องคือสถานีอวกาศคูเปอร์นั้นอยู่ใน Time Line ที่คูเปอร์อายุร้อยกว่าปีแล้ว และอยู่ในช่วงเดียวกันกับที่แบรนด์เพิ่งตั้งรกรากบนดาวเอ็ดก์มันส์ ดังนั้นหมายความได้ 2 ทางคือ

      1. คูเปอร์ตกเข้าไปใน Singularity และถูกเวลาผกผันไปจนไม่อาจคำนวนได้ สุดท้ายเมื่อเสร็จภารกิจแล้วจึงถูกส่งไปยังช่วงเวลาเดียวกันกับที่คูเปอร์จากกับแบรนด์ แต่ไปอยู่ระแวกการโครจรของดาวเสาร์แทน

      2. คูเปอร์ตกเข้าไปใน Singularity ที่แทบจะไม่ได้ถูกเวลาผกผัน(อาจผ่านไปแค่ไม่กี่ปีหรือสิบกว่าปีหลังจากแยกกับแบรนด์)

      แต่ในเรื่องก็เหมือนเน้นที่จะสื่อว่านี่ไม่ใช่การแก้ไขอดีต แต่เป็นการนำพาอดีตไปสู่อนาคต มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เป็น Time Loop ที่ไม่มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุด
      เหมือนกับตอนที่คูเปอร์คิดได้ว่า “เขาไม่ได้ส่งเรามา” แต่ “เราต่างหากที่ส่งเรามา” แล้วจากนั้นก็ส่งสัญญานผ่านฝุ่นโดยให้พิกัดกับตัวเองให้ออกไปพบ NASA
      รวมไปถึงที่คูเปอร์บอกว่าผู้ที่อยู่บนบัลลังก์ “ไม่ใช่เขา” แต่คือ “เรา” ต่างหาก ซึ่งแม้ TARS จะท้วงว่าความรู้ของมนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าถึงมิติที่ 5 ได้ แต่คูเปอร์ก็บอกว่า “ตอนนี้ยัง แต่ซักวันจะได้”

      • **แก้ไข: ตรหตุการณ์ = ในเส้นขอบฟ้าของเหตุการณ์

        คิดว่าหนังแสดงให้เราเห็นว่า “เวลาไม่อาจย้อนกลับได้” ดังนั้นคงไม่ได้ส่งคูเปอร์ย้อนผ่านเวลาย้อนกลับมาหรอกมั้งไม่งั้นจะค่อนข้างขัดกับทฤษฎีที่พูดเอาไว้ก่อนหน้านั้นครับ

    • คิดว่าสิ่งมีชีวิตมิติที่ 5 ทำให้นะครับ เพราะตอนนั้นเหมือนจะได้ยิน TARS พูดว่า “พวกเขากำลังปิดประตูมิติ” อะไรประมาณนี้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.