สรุปรางวัลออสการ์ 2022: “CODA” คว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยม, “Dune” คว้าไปมากสุด

มันเคยมีประโยคที่พูดว่า ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง ซึ่งน่าจะเข้ากับงานประกาศรางวัลออสการ์ปี 2022 หรือครั้งที่ 94 นี้ได้เป็นอย่างดี การถ่ายทอดการประกาศรางวัลมียอดจำนวนผู้ชมตกลงมาเรื่อยๆ ทุกปี ผู้จัดการก็พยายามแก้ไขโดยหาทางไม่ให้งานยืดเยื้อด้วยการตัดการประกาศรางวัลออกไป 8 รางวัล โดยประกาศไปก่อนล่วงหน้าแบบอัดเทปแล้วค่อยเอามาใส่ในรายการ ถูกผู้คนในวงการมองว่าไม่ให้เกียรติคนเบื้องหลัง และกลายเป็นว่างานก็ยังยาวและยืดเยื้ออยู่ดี การตัดต่อตอนประกาศ 8 รางวัลก็ดูรีบๆ ลนๆ การแสดงที่เอาเข้ามาแทนก็ไม่สนุก มุกตลกในบทเวทีก็ค่อนข้างจืด แถมการเพิ่มรางวัลที่ให้ผู้ชมทางบ้านโหวตกันเข้ามาก็ได้ผลลัพธ์ที่ชวนเหวอ ถ้าไม่เกิดเหตุวิล สมิธ ขึ้นไปตบหน้าคริส ร็อก บนเวที รายการปีนี้คงชวนให้ลืมสนิทครับ
สำหรับผลรางวัลนั้น แทบทุกรางวัลเป็นรางวัลที่คาดเดาได้ แม้ว่าจะมีบางรางวัลที่เราอยากให้ตัวเองเดาผิดก็ตาม แต่ก็เป็นไปตามที่เดากันไว้เกือบหมด “CODA” ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เอาชนะ “The Power of the Dog” กับ “Belfast” ที่เป็นตัวเก็งมาก่อนหน้าไปอย่างไม่พลิกโผ
“Belfast” เป็นตัวเก็งมาก่อน หลังจากที่ได้รางวัลจากเทศกาลหนังโตรอนโต จากนั้นเมื่อ “The Power of the Dog” ได้รางวัลติดๆ กัน จากเวทีนักวิจารณ์และยังคว้ารางวัลบาฟต้ามาอีกก็กลายเป็นตัวเก็งใหม่ จนเมื่อ 2-3 สัปดาห์สุดท้ายที่ “CODA” คว้ารางวัลของสมาคมนักแสดง, รางวัลของสมาคมนักเขียนบท และรางวัลของสมาคมผู้อำนวยการสร้าง หนังเรื่องนี้ก็กลายเป็นม้ามืดแซงทุกเรื่องใน 50 เมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย อย่างที่บทความในวาไรตี้ที่ทำนายผลบอกว่า ถ้า “CODA” ชนะ “The Power Of The Dog” ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่หนังชั้นสูงขวัญใจนักวิจารณ์จะพ่ายให้หนังที่เนื้อหากินใจมหาชน ที่ผ่านมา “Forrest Gump” ก็เคยชนะ “Pulp Fiction,” “The King’s Speech” ก็เคยชนะ “The Social Network,” และ “Green Book” ก็เคยชนะ “Roma”
การได้รางวัลของ “CODA” นั้น ถือได้ว่าเป็นหนังจากเทศกาลซันแดนซ์เรื่องแรก และเป็นหนังจากค่ายสตรีมมิ่ง (Apple Studios) เรื่องแรกที่ได้รางวัลออสการ์ และเป็นหนังที่เข้าชิงเพียง 3 รางวัล แต่ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของออสการ์ นับตั้งแต่ “Grand Hotel” ในปี 1932 และเป็นหนังที่ได้ชิงออสการ์โดยไม่ได้ชิงทั้งสาขาผู้กำกับและตัดต่อ นับตั้งแต่ “Grand Hotel” ในปี 1932 เช่นกัน
ทรอย คอตเซอร์ จาก “CODA” ยังได้รางวัลในสาขานักแสดงสมทบชาย ทำให้เขากลายเป็นนักแสดงชายหูหนวกคนแรกที่ได้รางวัลออสการ์ และเป็นนักแสดงหูหนวกคนที่สองที่ได้รางวัลออสการ์ต่อจากมาร์ลี แมตลิน ที่เคยได้จาก “Children of a Lesser God” (แมตลินสมทบในหนังเรื่องนี้ด้วยในบทภรรยา)
ส่วน “The Power Of The Dog” ได้ไป 1 รางวัล จากการเข้าชิงมากที่สุดถึง 12 รางวัลของปีนี้ โดยได้ไปในสาขาผู้กำกับหญิงครับ ทำให้เจน แคมเปียน เป็นผู้กำกับหญิงคนที่ 3 ที่ได้รางวัลออสการ์ ต่อจาก แคธริน บิเกโลว์ และ โคลอี้ เจ้า
“Belfast” หนังจดหมายรักถึงวัยเยาว์และภาพยนตร์ของเคนเนธ บรานาห์ ได้ไปในสาขาบทดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นรางวัลแรกตลอด 32 ปี ในอาชีพของบรานาห์ ผู้เคยเข้าชิงมา 8 ครั้ง 7 สาขา
“Dune” เป็นหนังที่ได้รางวัลไปมากที่สุดของปี ที่ 6 รางวัลครับ โดยกวาดสาขาด้านเทคนิคไปเกือบหมด และด้านล่างนี้คือผลรางวัลของปีนี้ครับ
(ผู้ชนะคือเรื่องที่ทำตัวหนา)
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
“Belfast”
“CODA”
“Don’t Look Up”
“Drive My Car”
“Dune”
“King Richard”
“Licorice Pizza”
“Nightmare Alley”
“The Power of the Dog”
“West Side Story”
ผู้กำกับ
เคนเนธ บรานาห์ – “Belfast”
ริวสุเกะ ฮามากุจิ – “Drive My Car”
พอล โธมัส แอนเดอร์สัน – “Licorice Pizza”
เจน แคมเปียน – “The Power of the Dog”
สตีเวน สปีลเบิร์ก – “West Side Story”
นักแสดงนำชาย
ฮาเวียร์ บาร์เดม – “Being the Ricardos”
เบเนดิคต์ คัมเบอร์แบตชน์ – “The Power of the Dog”
แอนดรูว์ กราฟีลด์ – “Tick, Tick … Boom!”
วิล สมิธ – “King Richard”
เดนเซล วอชิงตัน – “The Tragedy of Macbeth”
นักแสดงนำหญิง
เจสซิกา แชสเทน – “The Eyes of Tammy Faye”
โอลิเวีย โคลแมน – “The Lost Daughter”
เพเนโลปี ครูซ – “Parallel Mothers”
นิโคล คิดแมน – “Being the Ricardos”
คริสเตน สจ๊วร์ต – “Spencer”
นักแสดงสมทบชาย
เคียราน ไฮนดส์ – “Belfast”
ทรอย คอตเซอร์ – “CODA”
เจสซี พลีมอนส์ – “The Power of the Dog”
เจ.เค. ซิมมอนส์ – “Being the Ricardos”
โคดี้ สมิต-แมคฟี – “The Power of the Dog”
นักแสดงสมทบหญิง
เจสซี บัคลีย์ – “The Lost Daughter”
แอเรียนา เดโบซ – “West Side Story”
จูดี้ เดนช์ – “Belfast”
เคียร์สเทน ดันสต์ – “The Power of the Dog”
อวนจานู เอลลิส – “King Richard”
บทดัดแปลง
“CODA”
“Drive My Car”
“Dune”
“The Lost Daughter”
“The Power of the Dog”
บทดั้งเดิม
“Belfast”
“Don’t Look Up”
“King Richard”
“Licorice Pizza”
“The Worst Person in the World”
กำกับภาพ
“Dune”
“Nightmare Alley”
“The Power of the Dog”
“The Tragedy of Macbeth”
“West Side Story”
ภาพยนตร์อนิเมชั่น
“Encanto”
“Flee”
“Luca”
“The Mitchells vs. the Machines”
“Raya and the Last Dragon”
อนิเมชั่นขนาดสั้น
“Affairs of the Art”
“Bestia”
“Boxballet”
“Robin Robin”
“The Windshield Wiper”
ออกแบบเครื่องแต่งกาย
“Cruella”
“Cyrano”
“Dune”
“Nightmare Alley”
“West Side Story”
ดนตรีประกอบ
“Don’t Look Up”
“Dune”
“Encanto”
“Parallel Mothers”
“The Power of the Dog”
เสียง
“Belfast”
“Dune”
“No Time to Die”
“The Power of the Dog”
“West Side Story”
เพลงประกอบภาพยนตร์
“Be Alive” จาก “King Richard”
“Dos Oruguitas” จาก “Encanto”
“Down To Joy” จาก “Belfast”
“No Time To Die” จาก “No Time to Die”
“Somehow You Do” จาก “Four Good Days”
ภาพยนตร์สารคดี
“Ascension”
“Attica”
“Flee”
“Summer of Soul (…Or, When the Revolution Could Not Be Televised)
“Writing With Fire”
ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้น
“Audible”
“Lead Me Home”
“The Queen of Basketball”
“Three Songs for Benazir”
“When We Were Bullies”
ตัดต่อ
“Don’t Look Up”
“Dune”
“King Richard”
“The Power of the Dog”
“Tick, Tick…Boom!”
ภาพยนตร์นานาชาติ
“Drive My Car” (ญี่ปุ่น)
“Flee” (เดนมาร์ก)
“The Hand of God” (อิตาลี)
“Lunana: A Yak in the Classroom” (ภูฏาน)
“The Worst Person in the World” (นอร์เวย์)
แต่งหน้าและออกแบบทรงผม
“Coming 2 America”
“Cruella”
“Dune”
“The Eyes of Tammy Faye”
“House of Gucci”
ออกแบบงานสร้าง
“Dune”
“Nightmare Alley”
“The Power of the Dog”
“The Tragedy of Macbeth”
“West Side Story”
เทคนิคพิเศษด้านภาพ
“Dune”
“Free Guy”
“No Time to Die”
“Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings”
“Spider-Man: No Way Home”
ภาพยนตร์ขนาดสั้น
“Ala Kachuu – Take and Run”
“The Dress”
“The Long Goodbye”
“On My Mind”
“Please Hold”