คนทำหนังเตรียมขอให้ใช้กฎหมายกำหนดสัดส่วนการฉายภาพยนตร์เพื่อกู้วิกฤติหนังไทย

img_1367มีหมายเชิญสื่อมวลชนไปทำข่าววันพุธที่ 11 มกราคม (พรุ่งนี้) จากเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพภาพยนตร์ เรื่อง “ยื่นข้อเรียกร้อง เร่งพาหนังไทยออกพ้นวิกฤติการณ์” (via @deknang) ซึ่งผู้ที่จะมาร่วมงานมีตั้งแต่ ผู้กำกับชาติชาย เกษนัส (ถึงคน…ไม่คิดถึง), ผู้กำกับบุญส่ง นาคภู่ (ธุดงควัตร), ผู้กำกับธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ (ปั๊มน้ำมัน), ผู้กำกับเจนไวย ทองดีนอก (ความสุขของกะทิ) ตัวแทนของสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, พัชร เอี่ยมตระกูล ตัวแทนจาก HAL ค่ายจัดจำหน่ายหนังอิสระ โดยมี สุภาพ หริมเทพาธิป ดำเนินการพูดคุย งานจะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เวลา 14.00 น.-15.00 น. ครับ

เท่าที่ทราบมาจากแหล่งข่าว ข้อเรียกร้องที่เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพภาพยนตร์จะพูดคุย มีตั้งแต่เรื่องการขอลดภาษี การขอให้ทางรัฐช่วยดำเนินการให้ภาคเอกชนเพิ่มโรงฉาย และเพิ่มระยะเวลาฉายให้แก่หนังไทย (รายละเอียดคงชัดเจนมากขึ้นว่ามีอะไรบ้างในวันพรุ่งนี้) แต่ในนั้นจะรวมถึงการบังคับให้ใช้กฎหมายภาพยนตร์ หรือ “พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑” โดยเฉพาะในมาตรา ๙ (๕) ที่ระบุว่า “ออกประกาศกำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์” หรือสรุปก็คือ ให้บังคับใช้กฎหมายที่แต่เดิมมีอยู่แล้ว ในการกำหนดโควต้าว่าโรงหนังในประเทศจะต้องฉายหนังไทยปีหนึ่งๆ ในจำนวนมากแค่ไหน และห้ามต่ำกว่านั้น

ตามรายงานจาก ThaiPBS บอกว่ากฎหมายดังกล่าว มีภาษาอังกฤษว่า “Screen Quotas” ประเทศแรกที่ประกาศใช้ก็คืออังกฤษ ในปี 1927 ซึ่งหลังจากมีการกำหนดประมาณการนำเข้าหนังจากฮอลลีวู้ดแล้วก็ทำให้หนังในประเทศได้เติบโต ทั้งในแง่การผลิตและคุณภาพ จนปัจจุบันสู้กับฮอลลีวู้ดได้

เกาหลีใต้ก็เป็นอีกประเทศที่มีการกำหนดใช้กฎหมายนี้ โดยเริ่มใช้ในยุค 60 ที่มีการกำหนดว่าโรงหนังในประเทศจะต้องฉายหนังเกาหลีใต้ 146 วันต่อปี เป็นผลให้รายได้ของหนังในประเทศมีมากขึ้น มีการผลิตหนังในประเทศมากขึ้น มีการสร้างหนังที่มีคุณภาพมากขึ้น และเกิดผู้กำกับเก่งๆ ตามมาอีกหลายคน เชื่อกันว่าผู้กำกับปาร์คชานวุคจาก OldBoy ก็เป็นหนึ่งในผลผลิตของกฎหมายนี้ เพราะเมื่อครั้งที่สหรัฐบีบบังคับให้ผ่อนปรนการใช้กฎหมาย ก็ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่จากทุกฝ่ายของอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ ผู้กำกับปาร์คชานวุคไปยืนถือป้ายประท้วงในเทศกาลหนังเบอร์ลินเมื่อปี 2006 ว่า “No Screen Quota=No Oldboy” (ไม่มีกฎหมายโควต้าการฉายก็ไม่มีหนัง Oldboy)

ประเทศที่ยังใช้กฎหมายคล้ายกันนี้อย่างเข้มงวดในปัจจุบันนี้ ก็คือประเทศญี่ปุ่น โรงหนังที่ญี่ปุ่นยังต้องฉายหนังในประเทศเป็นหลัก มีการกำหนดจำนวนหนังจากต่างประเทศที่เข้าฉาย หนังฮอลลีวู้ดบางเรื่องจะฉายช้ากว่าทั่วโลกหลายเดือน และช่วยให้หนังในประเทศได้กลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดในแต่ละปีด้วย

จีนเองก็ยังเป็นอีกประเทศที่ยังใช้กฎหมายนี้อยู่ในแง่กำหนดจำนวนนำเข้าหนังจากต่างประเทศว่าปีหนึ่งจะฉายได้กี่เรื่อง ฮอลลีวู้ดต้องหาทางนำหนังเข้าฉายให้มากขึ้น โดยการให้จีนมาร่วมทุนสร้าง หรือจ้างงานจากคนในวงการภาพยนตร์จีน เพื่อเป็นช่องว่างในการได้เข้าฉายในประเทศ กฎหมายนี้เองก็ช่วยให้วงการหนังจีนได้พัฒนาทั้งในแง่การผลิต และในแง่งานสร้าง ทำให้คนในวงการอุตสาหกรรมของจีนได้กลายเป็นผู้เล่นระดับโลกกันมากขึ้น

แต่ข้อเสียก็ยังเป็นเรื่องคุณภาพของหนังในประเทศ หากว่าผู้สร้างไม่พัฒนาตัวเอง กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่มีประโยชน์ และทำให้ผู้ชมหมดโอกาสได้ชมหนังจากต่างประเทศที่คุณภาพดีกว่า หรืออาจทำให้ผู้จัดจำหน่ายเลือกเฉพาะหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวู้ดมาฉายเพียงอย่างเดียวเมื่อถูกกำหนดโควต้าการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ ลดการนำเข้าหนังฟอร์มเล็กที่อาจหาได้ในวงแคบๆ เราก็อาจจะได้ชมหนังฮอลลีวู้ดที่เน้นเทคนิคพิเศษเป็นหลัก

ผู้อ่านเว็บไซต์คิดยังไงกันบ้างครับ ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายนี้แล้ว คิดว่าอุตสาหกรรมหนังไทยในบ้านเราจะฟื้นตัวขึ้นไหม จะสร้างผู้กำกับเก่งๆ คนทำหนังเก่งๆ แบบของเกาหลีใต้ได้ไหม จะมีหนังไทยทำเงินในแต่ละปีสูงๆ และมีงานสร้างใหญ่ๆ มากขึ้นแบบจีนไหม หนังไทยฟอร์มเล็กที่ได้ฉายตามเทศกาลต่างๆ หรือฉายในวงแคบๆ ตามโรงหนังอาร์ตเฮาส์ แต่ไม่ค่อยได้ฉายในบ้านตัวเองจะมีโอกาสมากขึ้นไหมครับ

36 comments

  1. ถ้าเปลี่ยนแล้วผมจะได้เสพหนังไทยมากขึ้น หรือเยอะเรื่องขึ้นไหมครับ
    ทุกวันนี้ผมเบื่อหน้าพี่ซันนี่มากครับ

    ปล.ถ้าใครรู้แหล่งดูหนังอินดี้ช่วยบอกหน่อยนะครับว่าไปดูที่ไหนกัน
    หรือซื้อแผ่นมาจากไหนกัลลลล

  2. ไม่ต้องใช้กฎหมายก็ได้มั้งคับ แต่ทำหนังให้ดีมีคุณภาพ ให้มีเหตุมีผลก็น่าจะช่วยได้แล้วในเบื้องต้น ก่อนจะหาทางโปรโมทย์กันต่อไปเรื่อยๆ…..ไม่ใช่คนทำหนังอยากทำอะไรก็ทำ เหตุผลกูไม่สน ปัญญาอ่อนกูก็ยอม เอาแค่คิดว่าทำแล้วไม่ขาดทุนก็พอ คงไม่ไหวมั้งคับ…..เดี๋ยวนี้ผมว่าเป็นการดูถูกผู้บริโภคนะคับ เพราะผู้บริโภคก็เลือกนะคับ ไม่ใช่ศักดิ์แต่ว่าดูอย่างเดียว….. ผมเห็นหนังไทยที่คุณภาพดีๆตั้งหลายเรื่องก็สามารถทำรายได้ดีๆตั้งมากมาย แต่เรื่องไหนที่ไม่ไหวผมว่าก็รับสภาพไปมันเป็นเรื่องปกตินะคับ…… มองหลายๆมุมก็ดีนะคับ ไม่งั้นผมว่ามันจะพาวงการบันเทิงบ้านเราเสื่อมลงนะคับ ไม่ใช่จะทำให้กระเตื้องขึ้น

    • แค่วิจารณ์ดีช่วยไม่ได้คะ เราต้องการเวลา เพราะหลายเรื่องที่คำวิจารณ์ดี คนดูก็ชอบ แต่กลับถูกลดรอบฉายอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถทำให้กระแสปากต่อปากช่วยได้เท่าที่ควร ดูตัวอย่างล่าสุดอย่างเรื่อง ปั๊มน้ำมัน ที่คำวิจาณ์ดีมากแต่รอบฉายสัปดาห์ที่ 2 หายไปอย่างน่าใจหาย

      • แบรนด์ของผู้กำกับคือเป็นหนังเฉพาะกลุ่ม คนดูสายแมสจะปฏิเสธอยู่แล้วไม่ได้สนใจคำวิจารณ์หรอก

  3. ถ้านำกฏหมายฉบับนี้มาใช้ได้จริง ก็น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ แต่ผมก็เห็นด้วยกับประโยค “หากว่าผู้สร้างไม่พัฒนาตัวเอง กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่มีประโยชน์” ด้วยเหมือนกันครับ

    ผมว่าทุกส่วนต้องเดินไปพร้อมๆ กัน กฏหมายก็บังคับใช้ ผู้สร้างก็ต้องสร้างหนังดีๆ มีคุณภาพด้วย ส่วนคนดูซึ่งมีอยู่หลากหลาย ก็ต้องช่วยกันอุดหนุนครับ

    ส่วนตัวแล้ว ผมอยากดูหนังเล็กๆ ฟอร์มดีๆ มาก แต่มีฉายแค่ใน กทม. ผมก็เสียโอกาสที่จะได้อุดหนุนหนังไป เพราะอยู่ ตจว. ถ้าขยายโรงฉายได้ ให้คนดูที่อยู่ ตจว. เข้าถึงได้ด้วยก็จะดีมากครับ

  4. สั้นๆ เห็นด้วยกับประโยค
    “หากว่าผู้สร้างไม่พัฒนาตัวเอง กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่มีประโยชน์ ”
    และ “อาจทำให้ผู้จัดจำหน่ายเลือกเฉพาะหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวู้ดมาฉายเพียงอย่างเดียวเมื่อถูกกำหนดโควต้าการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ ลดการนำเข้าหนังฟอร์มเล็กที่อาจหาได้ในวงแคบๆ”

  5. เอาจริงๆแล้ว หลายปีมานี้ วงการหนังอิสระไทยเองก็น่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย Social Media และการบอกปากต่อปาก
    แต่ก็รับรู้ปัญหามาเหมือนกันว่า ด้วยระบบการฉายของพวกเครือโรงหนังต่างๆ มันไม่เอื้อให้หนังไทยนอกกระแสหลายเรื่องยืนโรงได้ยาวพอให้คนมาทดลองเสพย์
    ส่วนตัวคิดว่า ถ้ามันเป็นกฏหมายที่มีอยู่แล้ว และเป็นกฏหมายที่หลายๆประเทศเองก็ใช้กัน ก็น่าจะทดลองบังคับใช้อย่างจริงจังไปดูก็คงไม่เสียหายอะไร

  6. ยากที่จะสู้กับฮอลีวู๊ด ด้วยทุนสร้าง ด้วยทัศนะคติของผู้อำนวยการสร้าง และอื่นๆ แต่จะบังคับ (อ้อมๆ) ให้ผู้บริโภคดูหนังต่างประเทศน้อยลง ยังไงๆ มันก็ไม่ทำให้คนไทยดูหนังไทยมากขึ้นนักหรอกครับ ผมเชื่ออย่างนั้น

  7. การกำหนดโควต้าวันฉายหนังไทยควรมี เพื่อสนับสนุนหนังไทยให้มีที่ยืน

    แต่ปัญหาหนังไทยในปัจจุบันมองได้ 2 แบบ
    1. หนังดี แต่อินดี้ ไม่จับตลาด คนไม่เข้าไปดู โรงไม่กล้าเอามาฉาย
    2. หนังตลาด แต่คุณภาพต่ำ ง่ายๆ เลยคือหนังเลือกที่จะไม่สนใจ pre และ post production เท่าไร เน้นเอาดาราดังๆ จับกระแส หรือเป็นหนังตลก ที่เอาดาราตลกมาด้นมุกสดหยาบคาย (ที่คนดูชักจะไม่ขำ) พอคนดูเจอหนังแนวนี้เยอะๆ ก็ขยาด มองว่า หนังไทย = ไม่มีคุณภาพ คนก็ไม่เข้าไปดูอีก

  8. ผู้สร้างลองฝึกปรือฝีมือ สร้างหนังให้ดูฟรีทางทีวีก่อนมั้ยครับ แล้วดูว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างไร ถ้าฉายฟรี แล้วยังไม่ค่อยมีคนดู ก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าผลตอบรับดีมาก ค่อยเอามาเป็น Port Folio งาน เวลาไปขายโปรเจกต์หนังใหญ่ สะสมผลงานก่อนครับ

  9. หากว่าผู้สร้างไม่พัฒนาตัวเอง กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่มีประโยชน์<<จริง
    แต่ถ้าเอากฏนี้มาใช้คนไทยก็จะได้ดูหนังดีๆน้อยลง ผู้สร้างก็ขาดไอเดียใหม่ๆ โรงหนังก็จะว่างปล่าว ขาดทุนมหาศาล ยอมรับเถอะว่าหนังไทยส่วนใหญ่ยังสู้เค้าไม่ได้(บทเดิมๆ พร๊อตเรื่องเดิมๆ อยากหักมุมโดยการเอาแบบเดิมๆมาขยี่ มันก็เป็นเช่นเดิม)
    จะยกระดับให้เท่าเค้า แต่กล้าลงทุนCGขนาดฮอรีวูดมั้ย
    กล้าสร้างฉากประกอบขึ้นมาทั้งเมืองแบบเกาหลีมั้ย
    กล้าที่จะเอาศิลปะ ปราศาท อะไรต่างๆมาเล่นมั้ย
    กล้ามั้ยที่จะโปรโมทเทศการรึแหล่งท่อเที่ยวในไทยที่ยังไม่เคยมีใครมีใครเอามาทำผ่านตาแค่ช๊อตเดียวก็ยังดี(ฉากตบทรายวันไหลเนี่ย ปราศาสผึ้ง แห่เทียน แลนมาคใหม่ๆเยอะแยะไม่คิดใช้กัน คิดไรไม่ออกก็เข้าป่า เข้าห้อง=.=)
    กล้ามั้ยที่จะลองทำหนังในจินตาการ
    กล้ามั้ยที่จะลองเปิดนิยายสนุกๆซักเล่มแล้วเอามาทำหนัง
    กล้ามั้ยที่จะลองเข้าไปอยู่ในโลกแฟตาซีแล้วดึง ของจากโลกนั้นออกมาใช้
    น้อยเรื่องนักที่จะก้าวออกไป ถ้าคิดไม่ได้ก็จัดประกวดเรื่องสั้นซัก100หน้าดู
    เอาไปใช้เรื่องละอย่างก็หรูแล้ว

    • จุดประกายความคิดขึ้นมาเลยครับ
      จริงๆพักหลังแนวซุปเปอฮีโร่มาแรง ผมยังอยากให้ไทยมีเป็นของตัวเองบ้างเลยแต่CG คงไปไม่ถึงขั้นนั้น

  10. ถ้าต้องเสียเงินซื้อตั๋วในราคาเดียวกันราคาตั๋วหนังสมัยนี้ก็แสนจะแพงถ้าเลือกได้ผมก็อยากเลือกหนังฮอลลีวู้ดที่เขาตั้งใจถ่ายทำ ซีจีเนียนๆลงทุนหลายพันล้านบาท หรือบทที่เกลามาอย่างดี หรือเป็นการดูแอคติ้งของนักแสดงที่แสดงอย่างตั้งใจ เนี่ยแบบนี้เขาเรียกว่าหนังที่ใช้มือตั้งใจถ่ายทำจะเสียเงินเข้าไปดูก็สมเหตุสมผลแล้ว แต่ถ้ามาบอกให้ผมจ่ายค่าตั๋วเพื่อไปดูหนังที่ใช้ส้นตีนถ่ายทำแบบไอ้เรื่องโกยเถอะผีมาแว้วหรือป๊าด8เนี่ยนะ ผมเอาเงินไปซื้อข้าวให้หมาแดกน่าจะมีประโยชน์กว่า เพราะคิดว่าหนังไทยคนไทยต้องสนับสนุนอย่างงี้ไง มันถึงเอาส้นตีนมาเขี่ยๆทำหนังให้เราดู เพราะคิดว่าทำๆไปเหอะหนังไทยนะพอไม่มีคนดูก็มาร้องห่มร้องไห้ แทนที่ไอ้คนทำหนังเลวๆแบบนี้จะดูตัวเองก่อนดูให้ดีๆก่อนจะไปโทษที่คนดู ว่าสิ่งที่มึงทำมาเนี่ยมึงตั้งใจทำแล้วเหรอหันไปมองโลกรอบๆตัวบ้างว่าเขาทำหนังไปถึงไหนกันแล้ว แล้วไอ้คนทำหนังไทยดีๆก็ควรช่วยประนามพวกที่ทำหนังเลวๆด้วยเพราะมันจะยิ่งทำให้คนดูพากันมองหนังไทยมันห่วยกันไปหมดจะพากันลงเหวทั้งวงการเพราะคนทำหนังดีปล่อยให้คนทำหนังเลวมันทำอยู่อย่างนี้ไง สุดท้ายพอคนไทยเข็ดกับพวกหนังตีหัวเข้าบ้านแบบนี้จนเขาแอนตี้หนังไทยกันหมดแล้วเลิกอุดหนุนเลิกให้โอกาศคนทำหนังไทยใหม่ๆเมื่อไหร่นั้นละหายนะของจริง คุณไม่ต้องมาลักดันกฎหมายเรื่องจำนวนโรงฉายหนังไทย ให้มึงยืนโรงฉายทั้งโรง5เดือนติดต่อกันถ้าหนังมันห่วยก็ไม่มีใครเขาดูกันหรอกเผลอโรงหนังมันจะเจ๊งตามไปด้วยเหอะ

  11. ถ้าหนังไทยยังเป็นอย่างทุกวันนี้คือ ในปีหนึ่งจะมีหนังดี ๆ ออกมาแค่ 2-3 เรื่อง จากหนังที่ผลิตกันปีหนึ่งกว่า 30-40 เรื่อง … กฎหมายนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะคุณภาพหนังไม่ผ่าน กระแสบอกต่อไม่ดี คนก็จะไม่เข้าไปดู และถ้ายิ่งเจอมากเรื่องเข้า จะกลายเป็นผลร้ายกับหนังไทยมากที่สุด … ในแง่โรงหนัง จะสูญเสียโอกาสทำเงินจากหนังต่างประเทศไปอีกเป็นจำนวนมาก …

  12. สัดส่วนนี่มีประโยชน์แน่นอนครับ ก็เห็นตัวอย่าง ญี่ปุ่น กับ เกาหลีแล้วนี่ครับ เราต้องช่วยกันเองด้วยครับ รัฐก็ต้องส่งเสริมหนังไทยให้มากกว่านี้ด้วย ส่วนเรื่องคุณภาพหนัง คุณภาพผู้กำกับ ถ้ามันไม่ดีจริงๆ ก็ไม่มีคนดูอยู่ดีครับ ไม่มีใครบังคับเราได้ แต่ผมเชื่อว่าคนไทยเก่งนะครับ ไม่อยากเห็นหนังไทยดีๆกันเหรอครับ เห็นด้วยกับกฏนี้นะครับ ส่วนหนังอินดี้ที่ไม่ดีก็มีเยอะนะครับ จะได้คัดกันมากขึ้น หรือท้ายสุดอยากดูจริงๆก็หาโหลดหรือดูแผ่นได้นี่ครับ เอาคนไทยไว้ก่อนครับ

  13. นี่คือความเคยชินที่เรามัวแต่ทำหนังประเภทดูถูกคนดู จนมันกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าหนังตลาดของบ้านเราต้องเป็นยั่งงี้ และนายทุนควรมีส่วนรับผิดชอบร่วมด้วยตั้งแต่ต้นทางแล้วเวลาไปยื่นเสนอขายบทก็บอกว่าหนังขายไม่ได้ ใครจะดู ถ้าคิดในเชิงธุรกิจมันก็จริงอย่างว่า แต่ถ้าเราไม่เปิดโลกให้คนดูเยอะๆว่ามีหนังอะไรบ้าง แล้วเมื่อไหร่คนจะมาดูหนังไทยกัน มัวแต่ยัดเยียดหนังแนวเดิมๆ พอสร้างเสร็จก็จะมาพึ่งการตลาดเพื่อหวังให้หนังขายดี

    ส่วนประเด็นที่กำหนดว่าโรงหนังต้องฉายหนังตามที่กำหนด ผมกึ่งเห็นด้วยกับกึ่งไม่เห็นด้วย
    -ถ้าเห็นด้วย=มันเหมือนบีบบังคับให้โรงหนังต้องฉายหนังเรื่องนี้เท่านั้น
    -ถ้าไม่เห็นด้วย=โรงหนังก็ไม่ควรที่จะตัดโอกาส(รอบฉาย)ของหนังไทยเร็วเกินไป

    แต่สิ่งสำคัญสุดเลยไม่ใช่ว่าเรามีทีมงานไม่เก่ง แต่เราต้องการการร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงๆจังๆสักที อย่างการออกมาเรียกร้องในครั้งนี้ผมมีเห็นแต่ ผู้กำกับภาพยนตร์/ผู้จัดจำหน่ายอิสระ/เครือข่ายคนดูหนังแห่งประเทศไทย/สื่อมวลชนด้านภาพยนตร์ไทย รายเดิมๆที่ออกมาแก้ไข แต่ยังไม่เห็นความร่วมมือที่จะพาหนังไทยให้พ้นวิกฤติ จากค่ายหนังรายใหญ่/ผู้จัดจำหน่ายหนังรายใหญ่ หรือผู้บริหารโรงหนังกันบ้างเลย (ถ้าคุณไม่ช่วยกันมากกว่านี้ผมว่าทางที่ดีหยุดทำหนังไทยไปเลย และเราจะได้เห็นกัน)

  14. ก่อนจะไปกำหนด สัดส่วนของ ภาพยนตร์ รบกวน ตามเรื่อง พรบ. ก่อนไหมครับ ยังไม่ได้ ปรับปรุงแก้ไขอะไรเลย ยังเหมือนเดิม ริดรอนสิทธิ การชม เหมือนเดิม มี เรตติ้ง เข้ามาแต่ก็ยัง แบน เบลอ เหมือนเดิม !!!

  15. เป็นแนวทางที่น่าสนใจมากครับ
    แต่น่าห่วงอยู่อีกเรื่องคือ ต่อให้หนังไทยได้พื้นที่ฉายมากขึ้น ก็ไม่พ้นมือนายทุนเจ้าใหญ่ที่ชอบแต่หนังกลวงๆ อยู่ดี ดูจากหนังของตาแจ๊สชวนชื่น เรื่องอะไรจำชื่อไม่ได้ละ หนังได้ฉายแทบจะเหมาทุกโรงเพราะทุนเค้าหนา กฎหมายนี้จะไปเข้าทางหนังพวกนี้อยู่ดีหรือไม่ ?

  16. ญี่ปุ่น, เกาหลี ใช้แล้วได้เห็นพัฒนาการ แล้ว…. จีน ล่ะครับ?

    ในข่าวบอกว่า มีหลายประเทศที่ใช้กัน แต่ประเทศที่ใช้แล้วเวิร์ค วงการหนังในบ้านตนเองมีการยกระดับขึ้น จริงๆมีกี่ประเทศ??

    คงต้องพิจารณา “พื้นฐาน” ทางสังคม, ทัศนคติ และบริบทอีกมากมายของชนชาตินั้นๆประกอบด้วยมั้งครับ??

    สำหรับ “คนไทย” “ประเทศไทย” หากอ้างอิงประเทศที่มีบริบทพื้นฐานแตกต่างจากไทยอย่างเกาหลี, ญี่ปุ่น คิดว่าจะได้ผลลัพธ์ในทาง “พัฒนา” จริงๆหรือ….???

    “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” แม้เป็นคำที่กล่าวเชิงเสียดสีทีเล่นทีจริง แต่ก็มีส่วนจริงอยู่มิน้อยหรือเปล่าครับ???

    จำได้ว่าสมัยผมเด็กๆ ยุค “สตาร์วอร์ส” นั่น ก็เคยมีการเข้มงวดกับโควต้าหนังฮอลลีวู้ดกันมาแล้ว
    คุ้นๆว่าในยุคนั้น ประเทศไทยเลยได้ดูหนังฮอลลีวู้ดทีหลังประเทศอื่นๆอยู่เป็นปี!!
    และในที่สุดก็ต้องยกเลิกมาตรการเข้มงวดดังกล่าว

    ก็… ดีนะครับ ถ้าจะกลับมาบังคับใช้กฎหมายนี้กันจริงๆจังๆ อยากรู้เหมือนกันว่า “อุตสาหกรรมหนังโดยรวม” ของไทยจะเป็นอย่างไร? สุดท้ายจะเป็นจะบวกหรือลบ?0_0?

    (>0<)

  17. หนังบางเรื่องผมยังไม่เคยเห็นชื่อเลยสักครั้งเพราะอะไร โปรโมทไปสิ PR บนอินเทอร์เน็ตที่มีต้นทุนต่ำๆนะทำไปสิ มัวแต่เอางบไม่ลงนักแสดงหมด มันจะเหลืออะไร อย่าเอาเหตุผลโง่ๆว่า คนไทยต้องดูหนังไทย กูคนไทยแต่คุณภาพไม่ถึงก็ไม่ดูวะครับ ที่จริงผมคอหนังดราม่าอินดี้ด้วยซ้ำ แต่หนังไทย วนพล็อตอยู่แค่ไม่กี่เรื่องจะให้ไปดูอะไร เนื้อเรื่องก็มีแต่เดิมๆ

  18. ที่กล่าวอ้างมา อาจจะแก้ปัญหาได้ หรือไม่ได้ ไม่แน่ใจ บอกได้แต่เพียงว่ายุคสมัยมันเปลี่ยน แต่จะแก้ปัญหาด้วยวิธีการ ที่ต่างชาติใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน นำมาใช้ในตอนนี้ ต้องคิดให้หนักว่าเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ ถ้าพลาด ไม่ใช่พาลจะขายหนังไม่ได้ คนทำธุรกิจโรงหนัง จะขาดทุนเพราะ คนเข้าโรงน้อยตามไปด้วยเอานะครับ ทีนี้ พูดหยาบๆ เจ๊งทั้งระบบ

    ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเยอะแล้ว อย่างที่รู้ คนเข้าโรงคือคนพอมีเวลา ต้องการรับความบรรเทิงให้คุ้มกับเงินที่เขาเสียไป อันไหนดูไม่คุ้ม เขาก็รอแบบแผ่น รอดูตาม internet ได้ จะคิดกลยุทธ์ อะไรคิดให้ลึกไม่งั้นแทนที่จะดี กลับ แย่กว่าเดิม แล้วอุตสาหกรรมหนังไทย อาจจะถึงกับต้อง ปิดตัวไปตลอดการณ์เลยก็ได้

    คิดดีดีครับ ผมมองว่าวิธีดังกล่าวเป็นการฆ่าตัวตายเร็วขึ้นฝังกลบตัวเองเสียมากกว่า

  19. เอ้ว่าหนังไทบต้องจับมือหนังจากต่างประเทศทั้งเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ฝั่งยุโรปเเละ ฮอลลีวู้ดก็ดีทั้งนั้น เเต่ปัญหาไม่ใช่กฏหมายหรอก “เจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์”ต่างหากที่เขาไม่เห็นคุณภาพหนังไทยอินดี้คิดว่าเอามาฉายเเล้วได้ไม่คุ้มเสียไง Major เอย Sf เอย รอบก็ค่อนข้างมีจำกัดมาก ทางที่ดีสร้างโรงหนังเล็กๆไว้ให้มากเท่าที่จะมากได้ในไทยเเต่นั้นเอ้

  20. เปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมการทำหนังได้เมื่อไหร่ ไม่ต้องง้อใครเลย คนดูจะไปหาคุณเอง คุณทำหน้าหนังมาให้มันมีค่า มีราคา ไม่ใช่เอะอะก็ตลกผี อีโรติก ไม่ก็รักโรแมนติกคอมเมดี้ เค้าเอียนกันหมดแล้ว ทำอะไรแตกต่างแบบกล้าชนมั่งมั้ยล่ะ แต่ก็นั่นแหละ คุณยัดเยียดให้คนไทยดูแต่หนังไทยที่เป็นได้แค่หนังตลกเบาสมองมาตั้งแต่หลังยุคแม่นาค ของทรายเจริญปุระ ถ้าคิดจะยืนได้แบบจีนหรือญี่ปุ่น คุณต้องเลิกยัดเยียดวัฒนะธรรมการทำหนังก่อน อีกอย่าง ขจัดแผ่นผี หนังออนไลน์ bit ได้ 100% ก็จะช่วยได้มาก การเพิ่มรอบฉายเพื่อให้คนไทยดู ต้องเป็นหนังที่น่าสนใจ แล้วคำว่าน่าสนใจในความหมายของคนไทยเคยเปลี่ยนไปรึยัง นั่นแหละที่เราควรคิดกัน

    • แล้วคนดูล่ะ เอาไปไว้ไหน คนดูคนไทยจะอดดูหนังทีี่ดีกว่า ฮอลลิวู้ดมันส์ก็เคยกีดกันหนังจีนสมัยยุคบรูซลี เฉินหลงเหมือนกัน แต่มันส์ลอกเลียนและปรับปรุงคุณภาพ เลิกเถอะเรืื่องกีดกัน เพื่อประโยชน์ของคนดู

Leave a Reply to psp98Cancel reply