ข้ามไปยังเนื้อหา

Foxcatcher – ในความเห็นของคุณ

foxcatcher perfect shotผู้กำกับบรรจง ปิสัญธนะกูล พูดถึงหนัง Foxcatcher เอาไว้ในทวิตเตอร์ว่า “Foxcatcher ไม่ใช่หนังบันเทิงเข้มข้น ตรงข้ามมันทั้งนิ่งและเนิบ แต่คอหนังดราม่าสำรวจตัวละคร และหนังโชว์การแสดงต้องฟินแน่ๆ แต่ละคนเล่นโคตรพีค” และผมว่าน่าจะสรุปความเป็นหนังเรื่องนี้ได้ดี หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังที่เล่าเรื่องในรูปแบบมาตรฐานของหนังชีวิตเข้มข้นทั่วไป แต่ผู้กำกับเบนเน็ต มิลเลอร์ ใช้การสร้างบรรยากาศที่นิ่ง เย็น และเงียบ มาเป็นภาษาหนังอย่างหนึ่ง ไม่ได้ใช้เพื่อให้ผู้ชมโดยทั่วไปชอบ แต่เพื่อส่งความไม่น่าไว้วางใจบางอย่างของตัวละครออกมา ให้ทั้งประเด็นที่หนังอยากจะสื่อ และบรรยากาศของหนังไปในทิศทางเดียวกัน กลมกลืนไปด้วยกัน แบบเดียวกับที่ใช้ในหนัง Capote ซึ่งถ้าผู้ชมไม่ชอบหนังนิ่งๆ แบบนี้ก็จะไม่ชอบการเล่าเรื่องลักษณะนี้ไปเลย แถมหนังยังเป็นหนังประเภทที่ผู้ชมต้องทำการบ้านก่อนมาชมด้วยครับ เพราะเลือกที่จะเล่าแบบเหมือนทิ้งเบาะแสเอาไว้แล้วให้ผู้ชมไปคิดเองต่อในหัว ผ่านบทพูด ผ่านสัญลักษณ์ ผ่านการแสดง และให้ผู้ชมโยงเข้ากับส่วนที่เป็นข่าวอื้อฉาวเอง

แต่สิ่งที่ผฏิเสธไม่ได้จริงๆ ก็คงเป็นการแสดงอันยอดเยี่ยมของสามนักแสดงหลักของหนัง สตีฟ คาเรล, มาร์ค รัฟฟาโล และ แชนนิง เททั่ม ที่ปล่อยของกันสุดๆ เท่าที่บทจะส่งออกมาให้เล่น ตัวละครจอห์น ดู ปองท์ ของคาเรล มีความสลับซับซ้อนที่สุด และคาเรลเล่นผ่านสีหน้าที่นิ่งเฉย แต่สื่อทางแววตาได้ดีมากๆ ยังไม่รวมการเลียนลักษณะวิธีการพูดของตัวจริงได้เหมือนด้วย

หนังมีคะแนนจากนักวิจารณ์อยู่ที่ 7.9/10 และมีนักวิจารณ์ชอบ 87% จาก 187 นักวิจารณ์ที่ Rotten Tomatoes รวบรวมมา หนังเข้าชิง 5 รางวัลออสการ์ (ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่ามีโอกาสมากที่สุดก็คือสาขาแต่งหน้าและทำผมครับ สาขาเหลือที่เข้าชิง มีเต็งจ๋าอยู่แล้วทั้งนั้น)

ท่านที่ดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดยังไงกันบ้างครับ มาใส่ความเห็นกัน

ปล. ตั้งใจเลือกรูปด้านบนมาประกอบ เพราะรู้สึกว่าเป็นหนึ่งในช็อตที่สมบูรณ์แบบของหนังเรื่องนี้ และค่อนข้างสรุปความสัมพันธ์ของตัวละครได้ดีครับ

 

1 ความเห็น »

  1. ผมกลับเห็นตรงกันข้ามว่าถ้าผู้ชมไม่รู้อะไรเลยแล้วมาดูหนังเรื่องนี้ จะศึกษาความรู้สึกของตัวละครได้แบบไม่ลำเอียงเลย ผมเองรู้น้อยมากครับคือบังเอิญตาไปสะดุด synopsis เข้านิดนึงเลยรู้ว่าตอนจบจะมีอะไร แต่ดีที่ไม่รู้ชัดเจนนักว่าใครเป็นลงมือทำ

    ผมกลับรู้สึกว่ายิ่งตามดูไปในลักษณะนั้น (ในความรู้สึกกลายเป็นหนัง suspense ไปเลยบางช่วง) ทำให้เราต้องตีความสิ่งที่สื่อออกมาน้อยนิดเหล่านั้นและตั้งข้อสงสัยอยู่ตลอด ผมเลยยิ่งเห็นเลยว่านักแสดงแต่ละคนรับผิดชอบส่วนของตัวเองได้ดีมากจริงๆ โดยเฉพาะ สตีฟ คาเรลล์ เปลี่ยนตามบทได้เหลือเชื่อ และมาร์ค รัฟฟาโล เข้าไปอยู่ในตัวละครได้จริงๆ คนที่ยากกลายเป็นแชนนิ่ง เททัม ที่บทมีที่เล่นเยอะกว่าคนอื่น แต่กลับแสดงความกดดันออกมาได้เพียงผิวเผิน เหมือนเป็นคนอารมณ์เสียตลอดเวลาแค่นั้นเอง ไม่ได้ทุกข์ทรมานมากมายอย่างที่เรื่องดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น

    ดูแล้วนึกถึงหนัง Fargo เพราะหลายๆ อย่างประกอบกัน เราไม่รู้จริงๆ ว่าลึกๆ แต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร

  2. ในหนังแฝง Symbol เยอะมาก ในบอร์ด Reddit ถกกันเยอะมาก หนึ่งในนั้นคือกรณีคุกคามทางเพศ (หรือข่มขืน) กันเลยทีเดียว โดยเฉพาะการไปซ้อมกันตัวต่อตัว แล้วก็ปฎิกิริยาของ มาร์ค ซึ่งแสดงออกชัดเจนว่าเป็นเหยื่อ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.